ใช่แล้วตัวแปรภาษา หรือ Compiler เนี่ยก็มีระดับภาษา แต่ระดับภาษานั้นมันบ่งบอกถึงความใกล้เคียงกับภาษาเครื่องนั่นเอง โดยแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลักๆก็คือ
- ภาษาระดับต่ำ
- ภาษาระดับกลาง
- ภาษาระดับสูง
ก็คือถ้าตัวแปรภาษานั้นจัดอยู่ในภาษาระดับต่ำ ตัวแปรภาษานั้นก็จะมีความใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก แต่ถ้าตัวแปรภาษานั้นจัดอยู่ในภาษาระดับสูง ตัวแปรภาษานั้นก็จะมีความใกล้เคียงกับภาษามนุษย์เราๆกันมากขึ้น(ช่างสะดวกเสียจริง) มาดูระดับภาษาของภาษาคอมพิวเตอร์ที่เราพอจะคุ้นเคยหรือเคยได้ยินกันบ้างก็คือ ภาษา C ,Java, Basic, Pascal จัดเป็นภาษาระดับสูง ส่วนภาษาระดับต่ำก็คือ Assembly ซึ่งมีความใกล้เคียงภาษาเครื่องมาก มีสัญลักษณ์มาช่วยให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น แต่ก็ยังยากอยู่ดีนั่นล่ะ ฮ่าๆ ภาษาเขียนโปรแกรมนั้นในปัจจุบันมีเยอะมาก(หลายร้อยหลายพัน) เป็นสิ่งที่ทำให้รู้ว่าเราไม่มีทางชำนาญได้ทุกภาษาแน่นอน (เพราะมันมีเยอะมากนั่นแล) แต่อย่างที่เคยบอกไปคือ ถ้าเราชำนาญในภาษาใดภาษาหนึ่งแล้ว การจะกระโดดไปเล่นอีกภาษาหนึ่งๆนั้น ไม่ใช่เรื่องยาก การลำดับการทำงานของภาษาโปรแกรมต่างๆมีความคล้ายคลึงกันแต่อาจต่างกันแค่การใช้คำสั่งเท่านั้นเอง ด้วยเหตุนี้โปรแกรมเมอร์จึงต้องยืดหยุ่น สามารถปรับตัวได้เมื่อมีการเปลียนความนิยมหรือประสิทธิภาพของโปรแกรม ในตัวแปรภาษา
มีทุกวันเลย ขยันจริงๆ
ตอบลบว่าแต่มีบรรยาย ภาษาระดับต่ำ ภาษาระดับสูงแล้ว ยังขาดระดับกลางไป
หายไปไหนอ่า พวกทางสายกลางนี้เข้าใจยากเหมือนกันนะครับ
[-ต่ำ...กึ่งกลาง...สูง+]
ทำกราฟระดับภาษาเลย แหล่มดี 555+
L Eye I Drawing Machine
แสดงความคิดเห็นในฐานะ : ไม่ระบุชื่อ
ได้แค่นี้อย่างอื่น Blog ไม่ให้
ขยันเจงๆเพื่อนช้าน
ตอบลบฮ่าๆ
เขียนดีๆละทำเปงหนังสือเลยดีมิ
เขียนรวยม่าไหร่
อย่าลืมเลี้ยง
กร๊ากกกกกก
อ่า อันนี้พอเข้าใจ 555
ตอบลบคงเป็นพื้นฐานเลยสินะ =="
มีสูงกว่านั้นด้วยนะ แบบว่าแทบจะเหมือนไม่ใช่ syntax = ='
ตอบลบ