วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ส่วนประกอบในโค้ดของภาษา C#...!!!

เนื่องจากภาษา C# นั้นเป็นภาษาระดับสูงที่มีเครื่องหมายต่างๆมากมาย ก่อนเราจะเขียนโค้ดกัน มาทำความรู้จักกับเครื่องหมายต่างๆของภาษา C# กันก่อนดีกว่าครับ

Comment (ส่วนอธิบายโค้ด)
คือ ส่วนที่ compiler จะไม่ทำการแปลคำสั่ง ใช้เพื่ออธิบายโค้ดที่เราเขียนขึ้นครับ

  • // คำอธิบาย (ในกรณีที่คำอธิบายมีบรรทัดเดียว)
  • /*คำอธิบาย
    คำอธิบาย (ในกรณีที่คำอธิบายมีหลายบรรทัด)
    คำอธิบาย*/

Block (ขอบเขตคำสั่ง) ( "{", "}" )
คือ สัญลักษณ์ที่จะบอกขอบเขตการทำงานของแต่ละ function หรือ procedure และเป็นส่วนที่บรรจุคำสั่งต่างๆ (ตั้งแต่ 1 บรรทัดขึ้นไป) หรืออาจจะบรรจุบล๊อคย่อยๆได้อีกหลายบล๊อคเช่นกัน

  • {...คำสั่ง...} // ตัวอย่างของบล๊อคที่บรรจุคำสั่งเพียงบรรทัดเดียว
    (ในกรณีที่มีคำสั่งเพียง 1 บรรทัด ไม่จำเป็นต้องมี { } ก็ได้)

  • {
    .....คำสั่ง 1 ;
    .....คำสั่ง 2 ; // ตัวอย่างบล๊อคที่บรรจุคำสั่งหลายบรรทัด
    .....คำสั่ง 3 ;
    }
  • {
    ...{
    ........คำสั่ง 1 ; // ตัวอย่างบล๊อคที่บรรจุบล๊อคย่อย
    ...}
    }

Semi Colon เครื่องหมายสิ้นสุดคำสั่ง (;)
คือ สัญลักษณํแทนการสิ้นสุดคำสั่งแต่ละคำสั่ง (แต่ละคำสั่งจะต้องปิดท้ายด้วย ; ซึ่งหมายถึงจบคำสั่งนั้นๆ) จะไม่ใช้ในการปิดบล๊อค (ขอบเขตของคำสั่ง)

  • คำสั่ง 1;
    คำสั่ง 2;
    คำสั่ง 3;
  • คำสั่ง 1; คำสั่ง 2; คำสั่ง 3;

Method (ความสามารถของโปรแกรม)
คือ ส่วนของโปรแกรมที่อยู่ภายนอกโปรแกรมหลัก โดยจะนิยมเรียกกันว่าโปรแกรมย่อย (sub program) แนวคิดของ Method ก็คือการรวมคำสั่งที่ถูกใช้บ่อย และเราไม่จำเป็นต้องสนใจการทำงานภายในของ Method

Method สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • Function (ฟังก์ชั่น)
    เป็น Method ที่จะมีการส่งค่ากลับ เช่นเมื่อเราเรียกใช้งาน เราจะต้องนำตัวแปรมารับค่าที่ถูกส่งมาจาก Function
    (จะขอกล่าวโดยละเอียดในบทถัดไป)
  • Procedure (โพรซีเจอร์)
    เป็น Method ที่ไม่มีการส่งค่ากลับคืน เมื่อเราเรียกใช้จะไม่มีตัวแปรใดๆมารับค่า

Identifier (ไอเด็นติฟายเออร์)
คือ ชื่อที่ใช้สำหรับกำหนดให้กับส่วนประกอบต่างๆของโปรแกรม ไม่ว่าจะเป็น ตัวแปร ฟังก์ชั่น โพรซีเจอร์
(เป็นชื่อที่เราจะสามารถตั้งให้กับตัวแปรเก็บค่าต่างๆหรือชื่อฟังก์ชั่นได้ โดยมีเงื่อนไขตามแต่ละภาษากำหนด)
ประเภทของ Identifier มีดังนี้ คือ

  • Reserved Word (คำสงวน)
    คือ คำที่มีความหมายและเงื่อนไขการใช้ที่แน่นอน และไม่สามารถนำไปตั้งเป็นชื่อของตัวแปรได้

    auto , string , int, double, goto, case, do, while, if, else, break
    float, for, foreach, continue, default, long, void, enum, struct
    stack, const, return, switch, in, class, checked, override, event
    null, lock, random, private, public, protected, char, ref


    ** คำสงวนไม่จำเป็นต้องท่องนะครับ เมื่อได้ใช้บ่อยๆก็จะคุ้นเคยโดยอัตโนมัติ
    ** คำสงวนภายในโปรแกรม Visual Studio จะแสดงเป็นสีน้ำเงิน

  • User-Define Identifier
    คือ ชื่อที่ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องตั้งให้กับตัวแปร ฟังก์ชั่น และ เม็ดตอด ต่างๆ เพื่อเป็นการระบุหน้าที่
    การใช้งานที่แตกต่างกันของแต่ละตัวแปร (หลักการตั้งชื่อตัวแปรจะขอกล่าวในบทถัดไป)

5 ความคิดเห็น:

  1. เขียนคำสั่งของพรุ่งนี้อย่างนี้ได้เปล่า???

    {wakeup}
    {goto; hualampong; stayontrain}
    {chillontrain}
    {getdown; kmitl; walkrally}
    {gohome}

    ...มั่วสัดๆอะ 555+

    ตอบลบ
  2. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  3. โค้ดทดลองก่อนเขียนจริงเค้าเรียก ซูโด โค้ดน้า
    แต่ไม่มั่วขนาดนี้เฟ้ยไอนัด มั่วเกิ๊น

    ตอบลบ
  4. 555+

    ถาปัตย์ผมเรียนเพื่อ แถ...กล้าเพื่อ...เกินความจริง

    ตอบลบ
  5. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ

รับปรับมุมมองในการโปรแกรมมิ่งสำหรับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรม

รับปรับมุมมองในการโปรแกรมมิ่งจากเรื่องยากๆไม่เข้าใจ จะช่วยทำให้เป็นเรื่องง่ายและสนุก แอดมาคุยกันได้ครับ (ขอจำกัดไว้สำหรับผู้เพิ่งเริ่มต้นเขียนโปรแกรมเท่านั้น ในระดับสูงไปกว่านี้เช่นเขียนจนชำนาญแล้วจะไม่รับนะครับ)
Powered By Blogger