วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

Variable ( ตัวแปร )....!!!

Variable (ตัวแปร)
ก่อนที่จะนิยามตัวแปรต้องขออธิบายซักนิดครับ ถ้าพูดถึงวิชาคณิตศาสตร์ ตัวแปรนั้นจะหมายถึงสิ่งที่เราไม่ทราบค่าและต้องการหาค่าเหล่านั้น แต่ในทางโปรแกรมมิ่ง ตัวแปรคือ สิ่งที่ใช้เก็บค่าของข้อมูลนั้นๆ ในเงื่อนไขหนึ่งๆ

ตัวแปร คือ การตั้งชื่อให้กับหน่วยความจำเพื่อใช้ในการเก็บค่าต่างๆ ตัวแปรแต่ละตัวจะสามารถเก็บค่าได้เพียง 1 ค่าเท่านั้น

ในการเขียนโปรแกรมจะมีการจองพื้นที่หน่วยความจำ เพื่อใช้เก็บข้อมูล และต้องกำหนดชื่อเรียกเพื่อนอ้างอิงพื้นที่หน่วยความจำที่จอง ข้อมูลในตัวแปรสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา


กฏการตั้งชื่อตัวแปร


  1. ห้ามนำคำสงวน (reserved word) มาตั้งเป็นชื่อตัวแปร
  2. ชื่อตัวแปรจะต้องขึ้นต้นด้วย ตัวอักษรภาษาอังกฤษ อักขระพิเศษ @
    และ _ (underscore) เท่านั้น
  3. ตัวแปรจะต้องไม่ขึ้นต้นด้วยตัวเลข เช่น 9number, 105Ages ถือว่าผิด
  4. ชื่อตัวแปรจะต้องไม่ประกอบไปด้วยอักษรพิเศษทุกชนิด
    (เครื่องหมาย /, +, -, *, %, !) และไม่มีการเว้นวรรค
  5. ตัวอักษรใหญ่และเล็กจะถือว่าไม่เหมือนกัน เช่น mVar, MVAR จะถือว่าเป็นคนละตัวแปร
  6. ไม่ควรใช้ชื่อยาวเกินไป และควรตั้งให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ เช่น ตัวแปรเก็บอายุก็ควรตั้งว่า Age เป็นต้น

    ตัวอย่างการตั้งชื่อตัวแปรที่ถูก
    - _Number (ถูกต้องเพราะขึ้นต้นด้วย _ และประกอบไปด้วยตัวอักษร)
    - @humor123
    - InputNumber (ถูกต้องเพราะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร)

    ตัวอย่างการตั้งชื่อตัวแปรที่ผิด
    - 12Vat (ผิดเพราะ ขึ้นต้นด้วยตัวเลข)
    - inter-net (ผิดเพราะมีอักขระพิเศษ - )
    - case (ผิดเพราะ case เป็นคำสงวน)


การประกาศตัวแปร
ก่อนที่เราจะได้ใช้งานตัวแปร เราจะต้องทำการประกาศตัวแปรเสียก่อน เพื่อที่จะให้โปรแกรมได้จองพื้นที่หน่วยความจำ ไว้สำหรับรองรับค่าที่จะรับเข้ามาเก็บไว้ในตัวแปรต่อไป ขนาดของหน่วยความจำที่ใช้จะขึ้นอยู่กับชนิดของตัวแปร

(ชนิดของตัวแปร) (ชื่อของตัวแปร) ; // เป็นการประกาศค่าตัวแปรโดยที่ตัวแปรจะไม่มีค่าใดๆในหน่วยความจำ
เช่น int number ; // เป็นการประกาศตัวแปร number ชนิด int (จำนวนเต็ม)

เราสามารถประกาศตัวแปรได้หลายตัวพร้อมกัน
(ชนิดของตัวแปร) (ชื่อของตัวแปร 1), (ชื่อของตัวแปร 2), (ชื่อของตัวแปร 3), ...., (ชื่อของตัวแปร n) ;
เช่น int a,b,c,d,e ;

เราสามารถประกาศตัวแปรพร้อมกับใส่ค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรได้
(ชนิดของตัวแปร) (ชื่อของตัวแปร) = ค่าที่ของตัวแปร ;
เช่น double pi = 3.14 ; // เป็นการประกาศค่าตัวแปร pi ชนิด double (จำนวนจริง) พร้อมกับใส่ค่าให้กับตัวแปร pi

สำหรับการประกาศค่าของ string และ char จะมีการกำหนดค่าเริ่มต้นดังนี้

string text = "Oak" ; // จะมีเครื่องหมาย " มาครอบข้อความเอาไว้

char word = 'O' ; // จะมีเครื่องหมาย ' มาครอบข้อความเอาไว้

** สำหรับรายชื่อชนิดของข้อมูลให้ดูในหัวข้อ Data & Data type ครับ

การประกาศตัวแปรค่าคงที่ ( Constant )
ค่าคงที่ในโค้ดโปรแกรมมีหน้าที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละค่า เช่น ค่า พาย ค่า e หรือค่าอะไรก็แล้วแต่ ซึ่งเมื่อเราประกาศตัวแปรค่าคงที่มาแล้วนั้น
จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้อีก ไม่ว่าในส่วนของโปรแกรมใดๆ

รูปแบบการประกาศตัวแปรค่าคงที่

const (ชนิดของตัวแปรค่าคงที่) = (ค่าที่ต้องการ) ;
*** การประกาศตัวแปร const จะต้องประกาศพร้อมกับใส่ค่าให้กับตัวแปร จะประกาศเพียงชื่อไม่ได้
*** const int oak ; (ถือว่าผิด จะไม่สามารถรันโปรแกรมได้) x x x x x x

const double PI = 3.14159 ;
** ส่วนใหญ่มักจะตั้งชื่อค่างคงที่ด้วยตัวอักษรใหญ่

3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ09 พฤศจิกายน, 2553 21:20

    เทอมนี้มีเรียนเขียนโปรแกรมC#

    อยากเขียนเป็นอ่ะ

    ^^

    ตอบลบ
  2. ตอนนี้กำลังจะหัดเขียนโปรแกรมอยู่ค่ะ ไม่มีพื้นฐานเลย...แต่บล็อกนี้ช่วยได้มากค่ะ...
    จะรออ่านอีกนะคะ^^

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ05 พฤษภาคม, 2555 11:41

    ขอบคุณบทความดีมากครับ ครูโอ๊ค เริ่มเรียน C# ได้เข้าใจเลยครับ

    ตอบลบ

รับปรับมุมมองในการโปรแกรมมิ่งสำหรับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรม

รับปรับมุมมองในการโปรแกรมมิ่งจากเรื่องยากๆไม่เข้าใจ จะช่วยทำให้เป็นเรื่องง่ายและสนุก แอดมาคุยกันได้ครับ (ขอจำกัดไว้สำหรับผู้เพิ่งเริ่มต้นเขียนโปรแกรมเท่านั้น ในระดับสูงไปกว่านี้เช่นเขียนจนชำนาญแล้วจะไม่รับนะครับ)
Powered By Blogger