วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

output & input (การแสดงผลและการรับข้อมูล)

การแสดงผล คือ การสั่งให้คอมพิวเตอร์นำข้อมูลในหน่วยความจำ ไปแสดงผลในรูปแบบที่เรากำหนด ไม่ว่าจะเป็นการแสดงผลผ่านทางหน้าจอ ผ่านทางอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องปริ้นส์ ก็เรียกว่าการแสดงผลเช่นกัน

การแสดงผลในโค้ดโปรแกรมภาษา C# สำหรับผู้เริ่มต้นจะเป็นการแสดงผลในรูปแบบของ Console หรือ ข้อความเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจที่ดีในการเขียนโปรแกรม เรามาดูโค้ดการแสดงผลในรูปแบบ Console กันเลยดีกว่าครับ

System.Console.WriteLine( parameter ) ;

โค้ดนี้จะเป็นการสั่งให้แสดงผลออกมาเป็นข้อความใน Console ซึ่งให้สังเกตุโค้ดให้ดีๆครับ มันมีที่มาที่ไป ในการนิยาม กล่าวคือ เราได้ทำการเรียก Namespace ชื่อ System จากนั้นคั่นด้วย "." และตามด้วย Class ที่ชื่อ Console คั่นด้วย "." ตามด้วยการเรียน เมธอด WriteLine() เพื่อใช้งานอีกที การเขียนโค้ดส่วนใหญ่เราจะอ้างอิงจากใหญ่ลงมาถึงส่วนเล็ก นั่นก็คือ Namespace > Class > Method ซึ่งอาจจะดูยาวเกินจำเป็น เราสามารถ กำหนดในส่วนหัวของโค้ดว่า using System ; เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องนิยามถึง Namespace กล่าวคือ โค้ดที่เราจะเขียนจะเหลือเพียง

Console.WriteLine( parameter ) ;

ซึ่งจะเป็นผลดีที่เราไม่ต้องเขียนโค้ดยาวๆ ไม่เพียงแต่ namespace System เท่านั้น เราสามารถอ้างอิง namespace อื่นๆได้อีก ด้วยเหตุผลเดียวกัน

ในตอนนี้ขอให้ความสำคัญในส่วนของผลลัพธ์ก่อนแล้วเราจะมาพูดถึงการนิยามโค้ดที่ถูกต้องกันในภายหลัง

การแสดงผลข้อความใน Console จะมี 2 แบบ

  • Console.Write( ) ;
    เป็นการแสดงผลข้อความโดยจะไม่มีการเว้นบรรทัด หรือ cursor จะอยู่หลังข้อความที่โปรแกรมได้พิมพ์
  • Console.WriteLine( ) ;
    เป็นการแสดงผลข้อความโดยจะมีการเว้นบรรทัด หรือ cursor จะเลื่อนไปอยู่บรรทัดใหม่

รูปแบบการใช้งานของโค้ดแสดงผล

Console.WriteLine( parameter ) ;
parameter ที่จะใส่เข้าไปจะมีอยู่ 2 แบบ คือ

- รูปแบบของ string โปรแกรมจะทำการแสดงผล string ที่เราพิมพ์เอาไว้ใน " " มาแสดงผล

Console.Write("Hello World!!");
เมื่อ Compile จะได้

Hello World!!

- เป็น object (ตัวแปร) เมื่อเราส่งค่าที่เป็น object ไปเพื่อแสดงผล โปรแกรมจะนำค่าของ object มาแสดงผล

int Number = 20 ;
Console.Write(Number) ;
เมื่อ Compile จะได้

20

Data Type Conversion การแปลงชนิดของข้อมูล.. !!!

ด้วยความที่ข้อมูลทุกชนิดเป็น object เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ภาษา C# เข้มเรื่องของชนิดของข้อมูลมาก ซึ่งก็หมายความว่า ข้อมูลต่างชนิดกัน เราไม่สามารถนำมากระทำการต่างๆได้ในบางกรณี ซึ่งในหัวข้อนี้จะบอกถึงวิธีการแปลงชนิดข้อมูล และรูปแบบการแปลงข้อมูลต่างๆ

  • Implicit Conversion
    เป็นการแปลงชนิดข้อมูลที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เกิดจากการที่เรานำข้อมูลชนิดเดียวกันหรือต่างกันมากระทำกันทางคณิตศาสตร์ แล้วผลลัพธ์ที่ได้เกินขอบเขตของชนิดข้อมูล โดยจะแปลงไปสู่ขนาดของข้อมูลที่ใหญ่กว่าเสมอ เช่น

    int number1 = 20 ;
    double number2 = 3.5 ;

    ** ข้อมูลชนิด int จะรับข้อมูลที่เป็นตัวเลขเฉพาะจำนวนเต็มเท่านั้น
    number1 + number2 จะมีค่าเท่ากับ 23.5 ในโค้ดส่วนนี้จะเป็นตัวอย่างการกระทำการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งจะทำให้ข้อมูลที่ได้ ถูกแปลงไปเป็น double โดยอัตโนมัติ (เนื่องด้วย number2 เป็นชนิดตัวแปรที่ใหญ่กว่า number1) ดังนั้น ต้องนำชนิดตัวแปรที่มีขอบเขตครอบคลุมผลลัพธ์ที่ได้ด้วยเพื่อป้องกันการ error ของโปรแกรม

    double Result = number1 + number2 ;
    // จริงๆแล้วชนิดข้อมูลที่นำมารองรับไม่จำเป็นต้องเป็น double ก็ได้ เพียงแต่ขอให้รองรับกับผลลัพธ์ของ number1 + number2 ได้ก็พอ

    int Resule = number1 + number2 ; // ตัวอย่างของโค้ดที่ผิด จะทำให้โปรแกรม error เพราะเกินขอบเขตของตัวแปร integer
  • Explicit Conversion
    การแปลงข้อมูลที่เราสามารถกำหนดให้เกิดความชัดเจน เช่น

    int number1 = 20 ;
    double number2 = 3.5 ;

    int Result = (int)(number1 + number2);
    ** จะเป็นการแปลง number1 + number2 เป็นข้อมูลชนิด int เพื่อที่จะทำให้ไม่เกินขอบเขตของตัวแปร Result ที่มารับ (ผลลัพธ์ ที่เป็นทศนิยมจะถูกปัดทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้)
  • การใช้ เมธอด Parse
    เป็นการแปลงข้อมูลชนิด string หรือข้อความเมื่อข้อความนั้นเป็นข้อความของตัวเลข เป็นข้อมูลชนิดตัวเลข (สามารถกำหนดเป็น int หรือ double ก็ได้) ตัวอย่างของโค้ด

    string Number = " 200" ; // 200 ในชนิดของ string ไม่สามารถนำไปคำนวณได้
    int ConvertNum = int.Parse(Number) ;
    ก็จะได้ตัวแปร ConvertNum ที่มีค่าเท่ากับ 200 สามารถนำไปใช้ในการคำนวณได้ต่อไป
    ** ส่วนใหญ่เราจะใช้ เมธอด Parse แปลงข้อมูล string ตัวเลข ที่รับมาจากการใส่ค่าของผู้ใช้โปรแกรม
    ** ในส่วนของ Parse(Number) Number จะถูกเรียกว่า argument หรือตัวแปรที่จะส่งค่าไปเพื่อแปลงเป็น string

    เช่น int InputNum = int.Parse(Console.ReadLine( )) ; // ซึ่งจะอธิบายต่อไปในส่วนของการรับค่า
  • การใช้ เมธอด ToString
    เป็นการแปลงข้อมูลที่ทำหน้าที่ตรงกันข้ามกัน เมธอด Parse ซึ่งก็คือจะแปลงข้อมูลชนิดตัวเลข ไปเป็นข้อมูลชนิด string ซึ่งส่วนใหญ่จะแปลงไปเพื่อไปแสดงผลในรูปแบบต่างๆ ตัวอย่างโค้ดเช่น

    double ShirtCost = 599 ;
    string ShowCost = Convert.ToString(ShirtCost) ;
    ตัวแปร ShowCost จะมีค่าเป็น 599 ในชนิด string เพื่อที่จะนำไปแสดงผลต่อไป
    ** ในส่วนของ ToString(ShirtCost) ShirtCost จะถูกเรียกว่า argument หรือตัวแปรที่จะส่งค่าไปเพื่อแปลงเป็น string

รับปรับมุมมองในการโปรแกรมมิ่งสำหรับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรม

รับปรับมุมมองในการโปรแกรมมิ่งจากเรื่องยากๆไม่เข้าใจ จะช่วยทำให้เป็นเรื่องง่ายและสนุก แอดมาคุยกันได้ครับ (ขอจำกัดไว้สำหรับผู้เพิ่งเริ่มต้นเขียนโปรแกรมเท่านั้น ในระดับสูงไปกว่านี้เช่นเขียนจนชำนาญแล้วจะไม่รับนะครับ)
Powered By Blogger